วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

EVA

Framework Management Tool Box : ด้าน Controlling 

Economic Value Added: มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ

1. ประวัติความเป็นมา
เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจในเชิงเศรษฐศาสตร์พัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยบริษัทที่ปรึกษาอเมริกัน Stern Stewart Consulting Group เป็นการให้ความสำคัญมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ

2. EVA คืออะไร
EVA เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกำไรที่แท้จริงของกิจการ โดยหัก
ต้นทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น หรือส่วนของเจ้าของ(Cost of Equity) ที่เราเรียกกันว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของกิจการออกไปด้วย นอกเหนือจากการหักต้นทุนในส่วนของหนี้สิน (Cost of debt) ไปแล้ว ผลกำไรที่แท้จริงตัวนี้จะแสดงให้เห็นว่า ผลการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ มีทิศทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ (Creating value of the firm) หรือกำลังทำให้มูลค่าของธุรกิจลดน้อยลง (Destroying value of the firm)
หาก EVA ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าการบริหารงานของธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ และสร้างความมั่งคั่งให้กับผูถือหุ้น (Shareholders’ wealth) ทำให้ผู้ถือหุ้นเกิดความพอใจ นอกจาก EVAจะเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารงานแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างระบบผลตอบแทนที่จูงใจ ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้บริหารตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ และสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น (Maximize shareholders’ wealth) ทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงานของรัฐฯ
ในทางบัญชีเราบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์คงค้างเป็นหลัก ไม่ได้ใช้หลักเงินสด ทำให้กำไรที่เกิดขึ้นไม่สามารถวัดมูลค่าในอนาคตได้ (หากมีข้อแตกต่างระหว่างกำไรจากเกณฑ์คงค้างกับกำไรจากเกณฑ์ เงินสดมาก จะทำให้กำไรไม่มีคุณภาพ) สิ่งที่จะสะท้อนภาพผลการดำเนินงานของกิจการได้ ควรจะเป็นกระแสเงินสดที่แท้จริงของกิจการ

3. EVA ใช้เพื่ออะไร
· ใช้เป็นตัววัดทางด้านการเงินของผลตอบแทน อยู่บนพื้นฐานความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น
· ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลการดำเนินงาน
· ใช้กำหนดแผนการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร
· เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขององค์กร 

4. ข้อดีและข้อเสีย
- เป็นตัววัดทางด้านการเงินของผลตอบแทน อยู่บนพื้นฐานความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น,
- ใช้กำหนดแผนการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร ,
- ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขององค์กร
- ใช้ในการพัฒนาแนวทางวัดผลการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับแนวคิดใหม่ทางด้านการบริหารที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจกลับไปยังผู้ถือหุ้น

5. ขั้นตอนของการคำนวณ EVA
EVA ให้ความสำคัญสูงสุดกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างมูลค่าเพิ่ม หมายถึง การนำทรัพยากรไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าได้สูงสุด หากไม่มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว การใช้ทรัพยากรขององค์กรจะเป็นไปอย่างสิ้นเปลือง และสังคมโดยรวมสูญเสียมูลค่าทางโอกาสในการสร้างคุณค่าจากการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น

สูตรการคำนวณ EVA
EVA = NOPAT - (WACC x INVESTED CAPITAL)
ส่วนประกอบหลักๆ ในการคำนวณ EVA จะมีในงบกำไรขาดทุนและงบดุลของทุกบริษัทอยู่แล้วคือ
1. กำไรหลังหักภาษี (Net Operating Profit After Tax: NOPAT) ซึ่งคำนวณจากรายได้ลบด้วยค่าใช้จ่ายทางด้านปฏิบัติการและภาษี
2. เงินลงทุน (Capital) ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนหมุนเวียน เงินลงทุนถาวร และส่วนของสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้
3. ต้นทุนของเงินลงทุน (Capital Charge) คือผลตอบแทนที่ทั้งผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ต้องการ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อเงินลงทุน หากจะต้องไปกู้ยืมเงินมาลงทุนทั้งหมด ดอกเบี้ยของเงินทุนก็คือต้นทุนของเงินลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น