PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ
ประกอบด้วย
P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์
และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น
D = Do คือ
การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด
A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา
หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ
เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
เมื่อได้วางแผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A)การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ
จึงเรียกวงจร PDCA
ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้
1. การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน
จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริงการวางแผนงานควรวางให้ครบ 4 ขั้นดังนี้
(1) ขั้นการศึกษา คือ การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ
ความต้องการของตลาด ข้อมูลด้านวัตถุดิบ
ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน
(2) ขั้นเตรียมงาน คือ
การวางแผนการเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์
เครื่องจักร วัตถุดิบ
(3) ขั้นดำเนินงาน คือ
การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต
ฝ่ายขาย
(4) ขั้นการประเมินผล คือ
การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย
ประเมินจากการติชมของลูกค้า
เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดการเที่ยงตรง
2. การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ
และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น
การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียนร้อย
นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
3. การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้
ประกอบด้วย
3.1 ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
3.2 มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
3.3 มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน
3.4 มีกำหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน
3.5 บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อการตรวจสอบได้รับการยอมรับ
การปฏิบัติงานขั้นต่อไปก็ดำเนินงานต่อไปได้
4. การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม
เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรการบริหารงานคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น