วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Re-engineering

Framework Management Tool Box : ด้าน Organizing 



1. หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
Michael Hammer and James Champy

แนวความคิดของของ Adam Smith ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจปัจจุบัน ด้วยสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากปัจจัยผันแปร 3 ประการ (3C)
1. ความสำคัญของลูกค้า (Customer)
2. สภาพการแข่งขัน (Competition)
3. การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Change)
Michael Hammer and James Champy ได้นิยามอย่างเป็นทางการของคำว่า “REENGINEERING” ไว้ในหนังสือ รีเอ็นจิเนียริ่ง เดอะ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2536 ว่า
รีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering)
หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐานและการคิดแบบขึ้นใหม่ชนิดถอนรากถอนโคนของกระบวนการธุรกิจเพื่อบรรจุซึ่งผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุด ซึ่งได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการและความรวดเร็ว” คำนิยามศัพท์ที่เป็นหัวใจหลักสี่คำด้วยกัน

2. องค์ประกอบ ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ
- ปัจจัยที่ 1 : พื้นฐาน (Fundamental)
- ปัจจัยที่ 2 : ถอนรากถอนโคน (Radical)
- ปัจจัยที่ 3 : ยิ่งใหญ่ (Dramatic)
- ปัจจัยที่ 4 : กระบวนการ (Processes)

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
- ใช้เพื่อยกระดับโครงสร้างขององค์กร
- ใช้เพื่อปรับกระบวนการทำงาน การไหลของข้อมูล (work flow)
- ใช้เพื่อการปรับภาพลักษณ์องค์กร
- สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้น

4. ข้อดีและข้อเสียของ Re - engineering
ข้อดี :

- สามารถลดขั้นตอน ทำงานได้หลาย ๆ ช่วงการบังคับบัญชาสั้นลง
- ด้านอำนาจและความรับผิดชอบ ทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น
- ก่อให้เกิดการขยายงานอย่างเป็นระบบ เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
- ก่อให้เกิดการประหยัดในการดำเนินการทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
- มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญอันจะนำไปสู่ให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
- เจ้าหน้าที่หรือพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
ข้อเสีย :
- จะใช้เงินลงทุนสูง
- การใช้เวลาในการวิเคราะห์กระบวนการใช้ระยะเวลานานเกินไป
- เกิดแรงต่อต้าน

5. ขั้นตอนในการทำ Re-engineering
1. Re-think คิดแบบใหม่เพื่อค้นหารากเหง้าของปัญหา
2. Re-design ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่
3. Re-tool นำอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองงานแบบใหม่
4. Re-train ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานแบบใหม่ได้อย่างมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น