วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Strategic Thinking

  Framework Management Tool Box : ด้าน Leading
                                                                   

1. หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการหาวิธีการหรือทางเลือกที่ดีที่สุด ท่ามกลางสถานการณ์ที่อาจมีอุปสรรคและความไม่แน่นอน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นักบริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน การเรียนรู้ในเรื่องสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้างนั้น ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริง ทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับนักบริหารคงหนีไม่พ้น ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อทำให้ตนเองเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรู้ที่มี เพื่อคิดหาทางแก้ไขปัญหา และหาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับองค์กรต่อไป แนวคิดเชิงกลยุทธ์ มีอยู่ 6 แนวคิดคือ

1.1 ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)

1.2 การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)

1.3 การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)

1.4 การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)

1.5 การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

1.6 Game Theory ของ John Nash

2. องค์ประกอบของการคิดเชิงกลยุทธ์และการใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์

2.1 กำหนดเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง

2.2 วิเคราะห์และประเมินสถานะ

2.3 การหาทางเลือกและการวางแผนกลยุทธ์

2.4 วางแผนปฏิบัติการ

2.5 การวางแผนคู่ขนาน

2.6 การทดสอบในสถานการณ์จำลอง

2.7 การวิพากษ์แผนเพื่อมองหาจุดอ่อน

2.8 การลงมือปฏิบัติการ

2.9 การประเมินผล

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

(Strategic Thinking) เป็นตัวช่วยกำหนดว่าองค์กรควรจะมีเป้าหมาย เป็นอย่างไรในอนาคต ในขณะที่ระบบ

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning Systems) จะช่วยเลือกหนทางที่จะพาองค์กรให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง

ที่ได้วางไว้ตามวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4. ข้อดี / ข้อเสียของการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

ข้อดี

1. ทำให้มองเห็นภาพอนาคตได้ชัดเจนขึ้น

2. เห็นจุดอ่อน/จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งขัน อุปสรรคและโอกาสของความสำเร็จของงาน ทางออกที่หลากหลาย

3. สร้างแนวทางปฏิบัติให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง ควบคุมตัวเราให้ไปถึงจุดหมาย ทำให้เราตระหนักถึงผลได้ผลเสียของการตัดสินใจพัฒนาทักษะการตัดสินใจในสภาการณ์ต่าง ๆ

4. ช่วยให้ปรับตัวได้ภายใต้แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมไม่ให้หลงไปกับผลประโยชน์ระยะสั้น

5. ปลดปล่อยความคิดที่ติดยึดกับความสำเร็จในอนาคตและสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์ต่างๆ

6. เพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จโดยมีการกำหนดเป้าหมาย และมีวัตถุประสงค์ล่วงหน้าในการทำสิ่งต่างๆอย่างชัดเจน

7. เป็นกระบวนการความคิด เกิดขึ้นเมื่อมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการทำให้สำเร็จ

8. มีลักษณะยืดหยุ่นไม่ตายตัว แต่พลิกแพลงโอนอ่อนไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

ข้อเสีย

1. หากแผนปฏิบัติการณ์ไม่มีความยืดหยุ่นพอ อาจส่งผลเสียหายให้แก่องค์กรได้

2. ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีกลยุทธ์ในการคิด อาจจะมีไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น